การบำบัดน้ำเสีย
ปัญหาของน้ำเสียมักเกิดจากการรบกวนธรรมชาติของมนุษย์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
- น้ำเสียที่เกิดจากอินทรีย์สาร เช่น มูล ซากพืช ซากสัตว์
- น้ำเสียที่เกิดจากอนินทรีย์สาร เช่น สารเคมี
วิธีการบำบัดน้ำเสีย
วิธีการสำหรับการบำบัดน้ำเสียในปัจจุบันนั้นมีมากมายหลายวิธี แบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ คือ
- ระบบใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย ได้แก่ อุปกรณ์ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อการบำบัดโดยเฉพาะ ซึ่งจะไม่ขอกล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะในโครงการหลวงจะเน้นการพึ่งพลังงานธรรมชาติมากกว่า
- ระบบการใช้พลังงานธรรมชาติ ที่นิยมในปัจจุบันจะมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ ซึ่งจะเหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละสถานที่ต่างๆ กันไป
- ระบบสระผึ่ง (Oxidation Pond) ลักษณะทางกายภาพของระบบนี้ก็คือบ่อน้ำนั่นเอง แนวคิดหลักของระบบนี้คือการอาศัยการเติมออกซิเจนลงไปในน้ำด้วยพลังงานธรรมชาติ (แดด, ลม) บ่อที่ขุดขึ้นมาเพื่อการนี้จึงจะมีลักษณะตื้นๆ โดยมีความลึกอยู่ระหว่าง 60-150 ซม. เพื่อให้แสงสามารถส่องลงได้ทั่วถึง ระบบนี้อาจใช้เครื่องกลในการเข้าช่วยในการเติมออกซิเจนด้วย เพื่อให้การบำบัดเป็นไปได้เร็วขึ้นและใช้เนื้อที่ของสระน้อยลงเรียกว่า Aerated Pond
- ระบบสระน้ำปลูกพืช Constructed Wetland เป็นระบบที่ให้น้ำเสียไหลผ่านพืชน้ำกลุ่มหนึ่งซึ่งมีความสามารถในการดูดซึมของเสีย เมื่อเวลาผ่านไปช่วงหนึ่งก็ปล่อยน้ำออกมา
การบำบัดน้ำเสียทั้งสองประเภทนี้ในโครงการหลวงได้มีตัวอย่างที่ดีที่ควรศึกษาดังนี้ แต่ละโครงการจะใช้ระบบที่ใช้พลังงานธรรมชาติเป็นหลัก
ระบบบำบัดน้ำเสียของบึงมักกะสัน
ระบบบำบัดน้ำเสียของบึงมักกะสันเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติ เรียกว่า ระบบสายลมและแสงแดด (Oxidation Pond) เป็นบ่อดินมีความลึก 0.5-2 เมตร พอที่แสงจะส่องลงถึง สาหร่ายในน้ำจะสังเคราะห์แสงแล้วให้ oxygen ออกมา และแบคที่เรียก็จะใช้ออกซิเจนนั้นในการย่อสลายน้ำเสีย นอกจากนี้ในบางส่วนยังติดตั้งเครื่องเติมอากาศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัด มีการปลูกผักตบชวาซึ่งมีความสามารถในการดูดซึมอาหาร และโลหะหนักต่างๆ
ระบบบำบัดน้ำเสียของบึงพระราม 9
ใช้ระบบที่คล้ายกับ Oxidation Pond ของบึงมักกะสัน แต่มีการใช้เครื่องกลในการเติมอากาศเสริมด้วย ประโยชน์ของการใช้เครื่องกลเข้าช่วยในการเติมอากาศก็คือ การที่มันจะช่วยเร่งให้ปฏิกิริยาการทำลาย BOD เป็นไปได้เร็วขึ้น (BOD คือหน่วยวัดความเน่าเสียของน้ำ) ระบบนี้เรียกว่าระบบ Aerated Lagoon เมื่อเปรียบเทียบระบบนี้กับ Oxidation Pond ในความสามารถในการทำลาย BOD เท่าๆ กันแล้ว ระบบ Aerated Lagoon จะต้องการพื้นที่น้อยกว่าระบบ Oxidation Pond 8-10 เท่า
ระบบบำบัดน้ำเสีย ณ แหลมผักเบี้ย
ใช้ระบบ Oxidation Pond ร่วมกับ Constructed Wetland โดยในส่วนของ Oxidation Pond จะแบ่งเป็นบ่อย่อยๆ เมื่อน้ำผ่านแต่ละบ่อไป ก็จะค่อยๆ สะอาดขึ้น มี 5 บ่อด้วยกัน น้ำจะผ่านตั้งแต่บ่อที่ 1 - 5
- บ่อแรกคือบ่อตกตะกอน (sedimentation Pond) ให้พวกตะกอนของเสียแยกออกไปก่อน
- บ่อที่ 2, 3, 4 เป็นบ่อบำบัด (Oxidaton Pond)
- บ่อที่ 5 เป็นบ่อปรับคุณภาพน้ำ (Ploishing Pond) จะนำน้ำไปตรวจสอบคุณภาพอย่างใกล้ชิด ก่อนปล่อยออกสู่ทะเล
ในส่วนของ Constructed Wetland จะเป็นบ่อบำบัดรองซึ่งจะใช้พืชเข้ามาช่วยในการดูดซึมของเสีย มีทั้งหมด 3 ประเภท
- ระบบบึงชีวภาพ (Constructed Wetland) คือการให้น้ำเสียผ่านบ่อดินตื้นๆ ซึ่งปลูกพืชที่มีรากพุ่มประเภทกกพันธุ์ต่างๆ และอ้อ เป็นต้น พืชเหล่านี้จะช่วยดูดซับสารพิษและอินทรีย์สารให้ลดน้อยลง น้ำที่เหลือล้นออกมาจากบ่อนี้จึงเป็นน้ำที่ใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
- ระบบกรองน้ำเสียด้วยหญ้า (Grass Filtration) คล้ายกับ บ่อชีวภาพเพียงแต่พืชที่ปลูกเป็นหญ้า ได้แก่ หญ้าเนเปีย, หญ้าแฝก, หญ้านวลน้อย, หญ้าขน และหญ้ารูซี่ เป็นต้น
- ระบบกรองน้ำเสียด้วยป่าชายเลน (White and Red Mangrove) การปลูกป่าชายเลนแบบธรรมชาติ มีพืชประเภทโกงกาง แสมขาว ก็สามารถใช้ในการบำบัดน้ำเสียได้เช่นกัน
ระบบบำบัดน้ำเสียบริเวณหนองสนม-หนองหาน
ใช้ระบบ Aerated Lagoon ร่วมกับ Constructed Wetland