การฟื้นฟูสภาพที่ดิน
ภูมิสถาปัตยกรรมมีความเกี่ยวข้องกับผืนแผ่นดินโดยตรงเพราะผืนแผ่นดินเป็นเสมือนฐานสำหรับการออกแบบจัดวางองค์ประกอบทางภูมิสถาปัตยกรรมต่างๆลงไปตามความเหมาะสม ซึ่งขึ้นกับลักษณะทางกายภาพและข้อจำกัดต่างๆที่มีอยู่งานภูมิสถาปัตยกรรมจึงมีส่วนช่วยในการส่งเสริมหรือปรับปรุงแก้ไขปัญหาบริเวณต่างๆเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พื้นที่นั้นๆ ซึ่งลักษณะจำเพาะของปัญหาบริเวณชนิดต่างๆที่พบบ่อยในประเทศไทยอาจจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ดังนี้
- ที่ลุ่มต่ำ น้ำท่วม น้ำขังและดินอ่อน
- ที่ดินเค็ม
- ที่ดินเปรี้ยว ดินเป็นด่าง
- ที่ดินเลวขาดธาตุอาหาร
- อื่นๆ เช่น ปัญหาการเลื่อนไหล,หลุมยุบ
โดยแนวความคิดในการพัฒนาตามพระราชดำริในเรื่องการแก้ไขและปรับปรุงบริเวณที่มีความโดดเด่น คือ“การแกล้งดิน”สำหรับปัญหาดินเปรี้ยว และ”การใช้หญ้าแฝก”สำหรับปัญหาดินเลวขาดธาตุอาหาร ,การเลื่อนไหล,กัดเซาะพังทลายในพื้นที่ลาดชันจะเห็นได้ว่าแนวทางพัฒนาตามแนวพระราชดำริหลายโครงการ ได้แสดงออกถึงความรู้อันลึกซึ้งถึงหลักการทางด้านภูมิสถาปัตยกรรม ในการจัดการแก้ไขปัญหาบริเวณเหล่านี้ ด้วยวิธีการที่ง่ายแต่อยู่ในหลักการที่ถูกต้องผ่านภาษาที่กระชับ โดยโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาดินได้แก่
- โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ฉะเชิงเทรา
- โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส
- โครงการศูนย์ ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี
- โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่
- โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มแม่อาว จ.ลำพูน
- โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม จ.ราชบุรี
- โครงการทดลองแก้ปัญหาดินเปรี้ยว จ.นครนายก