ป่าพรุ

ป่าพรุ 1

ป่าพรุ เป็นป่าไม้ทึบ ไม่ผลัดใบเป็นป่าดงดิบที่มีน้ำท่วมขังทั่วทั้งบริเวณ มีประโยชน์ในการชะลอการไหลของน้ำลงทะเล ป่าพรุขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่ จ.นราธิวาส คือพรุโต๊ะแดง พรุบาเจาะ พรุกาบแดงแนวการพัฒนาเน้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติด้วยการปรับปรุงสภาพป่าให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศน์มากที่สุด(การใช้ประโยชน์อย่างเอนกประสงค์ควบคู่กับการสร้างสมดุลแห่งระบบนิเวศน์) ซึ่งการระบายน้ำจากพรุทำให้เกษตรกรได้ประโยชน์แต่จะทำให้เกิดปัญหาดินเปรี้ยวตามมา

กรณีศึกษา

  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง
  • ศูนย์ศึกษาวิจัยและธรรมชาติป่าพรุสิรินธร มีการทำ nature trail เพื่อศึกษาป่าพรุ

การกำหนดเขตการใช้ที่ดินบริเวณพื้นที่ป่าพรุ 

  1. เขตสงวน preservation zone พรุบริเวณที่ยังคงสภาพป่าธรรมชาติสมบูรณ์
  2. เขตอนุรักษ์ conservation zone พื้นที่พรุที่ถูกทำลายไปแล้วเป็นส่วนใหญ่
  3. เขตพัฒนา development zone พรุที่มีการระบายน้ำออกไปบ้างแล้วและพืชถูกแผ้วถางจนหมด 

ป่าพรุ 2

เขตพัฒนา เป็นพื้นที่พรุที่ได้มีการระบายน้ำออกไปบ้างแล้วพืชพรรณเดิมถูกแผ้วถางจนหมดมีการพัฒนาพื้นที่เพื่อใช้ทำกิจกรรมทางการเกษตรดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง

ป่าพรุ 3

เปิดศูนย์ศึกษาให้ความรู้ประชาชน ให้ราษฎรในท้องถิ่นเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจให้เห็นความสำคัญของป่า

ป่าพรุ 4

เขตอนุรักษ์ เป็นพื้นที่พรุที่พืชพรรณถูกทำลายโดยการแผ้วถางและไฟไหม้แล้วถูกทิ้งร้างต่อม่มีไม้เสม็ดขาว กก กระจูดและพืชพวกหญ้าขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป